สถานที่ท่อเที่ยวจังหวัดสุพรรณบุรี
มังกรสวรรค์
เกี่ยวกับคำอธิบายพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร หรือ อุทยานมังกรสวรรค์ สร้างขึ้นตามความต้องการของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยได้เริ่มออกแบบและจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกรขึ้นภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ห่างจากฝั่งแม่น้ำไปตามถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ ... วิกิพีเดียตั้งอยู่ใน: ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี 素攀古廟
หอคอยบรรหาร-แจ่มใส
สวนเฉลิมภัทรราชินี และ หอคอยบรรหาร-แจ่มใส สวนแห่งความรักกลางใจเมืองสุพรรณ หอคอยสีขาวสะอาดตา ท่ามกลางสวนงามและดอกไม้สีสันสดใส ขับกล่อมด้วยเสียงเพลง และลีลาเริงระบำของน้ำพุแสนสวย ยิ่งในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า แปรเปลี่ยนให้สถานที่แห่งนี้เป็นดุจสวนสวรรค์..... โปรแกรมการเดินทางมาท่องเที่ยวเมืองสุพรรณ จะจบลงด้วยความประทับใจ กับความงดงามยามค่ำคืน ด้วยแสงไฟและเสียงเพลง ในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่จะทำให้ความรักของคุณ สวยงามมากมายกว่าทุกวัน
บึงฉวาก
พ.ศ. 2525[5]นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนั้น ได้มีแผนพัฒนาหมู่บ้านรอบบึงฉวากเพราะเป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีนกนานาชนิด จึงนำเรื่องเสนอกรมป่าไม้ เพื่อให้เป็นพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศเรื่อง กำหนดให้พื้นที่บริเวณบึงฉวาก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และตำบลปากน้ำ ตำบลเดิมบาง ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยกำหนดชนิดสัตว์ป่าที่ห้ามล่าไว้ 59 ชนิด เป็นนก 58 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 1 ชนิด (นากทุกชนิดในวงศ์ย่อย)พ.ศ. 2526ตามพระราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าอย่างสมบูรณ์แบบพ.ศ. 2537นายบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโครงการบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๕๐ ปี ในปี พ.ศ. 2539เกิดศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สังกัดสำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจค้นคว้าวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ดำรงสายพันธุ์สัตว์ป่า พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ฯลฯต่อมาได้สร้างกรงนกขนาดใหญ่และสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจพ.ศ. 2539ได้จัดสร้างตู้ปลา 30 ตู้ มีปลาน้ำจืดกว่า 50 ชนิด สร้างบ่อจระเข้พ.ศ. 2541ได้จัดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ เป็นพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีน้ำขังถาวรหรือชั่วคราว ทั้งที่น้ำนิ่ง น้ำไหว ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตรพ.ศ. 2542สร้างอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติพ.ศ. 2544ได้ทำการเปิดให้ประชาชนเข้าชมในอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติได้เป็นครั้งแรกวางศิลาฤกษ์อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ภายในอาคารมีตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ ตู้ปลาขนาด 1 ตัน 30 ตู้ มีปลาน้ำจืด 60 ชนิด ปลาทะเลสวยงาม 7 ตู้พ.ศ. 2546อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสร้างแล้วเสร็จวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เปิดให้ประชาชนเข้าชมอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็นทางการ
ตลาดร้อยปี
ตลาดสามชุก เป็นห้องแถวไม้ริมแม่น้ำท่าจีน ตั้งอยู่ในอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ในอดีตเคยเป็นชุมชนและค่อยๆได้พัฒนาเป็นเป็นย่านการค้าสำคัญ ตลาดสามชุกก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในปี พ.ศ. 2510 การคมนาคมทางบกได้พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้การค้าขายผ่านทางแม่น้ำลดลง ตลาดสามชุกจึงเริ่มเงียบลง การเดินทางทางน้ำไม่ได้รับความนิยมเท่าเดิม การค้าขายที่ตลาดสามชุกก็ไม่คึกคักเหมือนเดิม
ในปี พ.ศ. 2543 คณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ได้จัดตั้งขึ้น เพื่อฟื้นฟูตลาดสามชุกให้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง และมีการพัฒนาต่อเนื่องจนตลาดสามชุกได้กลับมาคึกคักเหมือนเช่นในอดีต นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์สิ่งมากมายที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชุมชนในตลาดสามชุก ซึ่งถูกนำไปสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างขึ้นจากความพัฒนาของชุมชนท้องถิ่นในตลาดสามชุก